- ญี่ปุ่นขึ้นแท่นจุดหมายปลายทางยอดนิยม ทำลายสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดกว่า 3 ล้านคน ในเดือนมีนาคม
- จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาที่ 80% ของปี 2019 ขณะเดียวกันพบว่าจำนวนของนักท่องเที่ยวชาวอินเดียก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
- นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ใช้เวลาในการพักผ่อนนานขึ้น พร้อมให้ความสำคัญกับประสบการณ์มากกว่าการใช้จ่ายซื้อสินค้า
ภาคการท่องเที่ยวทั่วโลกกำลังฟื้นตัวต่ออย่างเนื่องในปี 2567 เห็นได้จากการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่ยังคงแข็งแกร่งและการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเมื่อไม่นานมานี้ มาสเตอร์การ์ดได้เผยแพร่รายงานประจำปี ฉบับที่ 5 หัวข้อ “Travel Trends 2024: Breaking Boundaries” ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด จากสถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ด (Mastercard Economics Institute: MEI) ที่เผยให้เห็นถึงข้อมูลเชิงลึกที่เปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน 74 ประเทศทั่วโลก รวมถึง 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจะมีความผันผวนและระดับความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีความแตกต่างกัน กลับพบว่าการท่องเที่ยวทั่วโลกกำลังค่อย ๆ เติบโตขึ้น โดยรายงาน MEI ระบุว่า จากข้อมูลการใช้จ่ายถึงไตรมาสแรกของปี 2567 อุตสาหกรรมเรือสำราญและสายการบินครองสถิติยอดการใช้จ่ายสูงสุดถึง 9 วันเมื่อเทียบจากจำนวนวันที่มียอดใช้จ่ายสูงสุด 10 วันล่าสุด ซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวที่จะยังคงเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่มีความหมายและมีการจัดสรรงบประมาณที่มากขึ้นสำหรับการเดินทาง
รายงาน MEI มีการอ้างอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกรรมของมาสเตอร์การ์ดที่ถูกรวบรวมโดยไม่ระบุชื่อ รวมถึงการรวบรวมจาก Mastercard SpendingPulse(TM) และแหล่งข้อมูลบุคคลที่สาม โดยรายงานฉบับนี้ ได้เจาะลึกไปถึงแนวโน้มการท่องเที่ยวที่สำคัญในปี 2567 และแนวโน้มในอนาคต โดยมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่โดดเด่น ดังนี้:
จุดหมายปลายทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากครึ่งหนึ่งของจุดหมายปลายทางยอดนิยม 10 อันดับแรกอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตอกย้ำให้เห็นถึงความนิยมในหมู่นักเดินทาง การวัดผลและจัดอันดับดังกล่าวอ้างอิงจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งธุรกรรมการท่องเที่ยวในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2567
- ญี่ปุ่นขึ้นแท่นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวอันดับ 1 ของโลก (อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 0.9% เทียบกับ ไอร์แลนด์ที่ 0.4%) ประเทศญี่ปุ่นได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ถึง 3,081,600 คนในเดือนมีนาคม 2567 นับเป็นสถิติสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา แม้กระทั่งในช่วงก่อนไฮซีซั่นจะเริ่มต้นขึ้นก็ตาม ด้วยแรงหนุนจากค่าเงินเยนที่อ่อนตัว (ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2533) โดยคาดว่าอัตราการแลกเปลี่ยนที่ดีของญี่ปุ่นนี้ จะช่วยให้ญี่ปุ่นยังคงเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวตลอดปี 2567 ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจของญี่ปุ่นที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในท้องถิ่นโดยรวม
- การเดินทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังฟื้นตัว โดยเฉพาะการเดินทางภายในภูมิภาคไปยังประเทศใกล้เคียง ตัวอย่างเช่น จุดหมายปลายทางยอดนิยมในช่วงฤดูร้อนนี้สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ กรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ และเพิร์ธ
- การท่องเที่ยวของไทยจะฟื้นตัวเต็มที่ในปี 2567 จากข้อมูลของสถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ด (MEI) พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนทั้งหมดขณะนี้ต่ำกว่าปี 2562 เพียง 7% ซึ่งเป็นระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-193 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณเที่ยวบินขาเข้าจากเอเชียใต้และภูมิภาคอาเซียนนั้นสูงกว่าช่วงปี 2562 เกือบ 20%
นายเดวิด แมนน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า “ลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความต้องการและเต็มใจที่จะออกเดินทางท่องเที่ยว รวมทั้งยังมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าเขาจะได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่าและดีที่สุดจากการเดินทาง สำหรับหน่วยงานการท่องเที่ยว ร้านค้า รวมถึงภาคบริการ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งที่สำคัญคือต้นทุน ในเศรษฐกิจปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอำนาจการใช้จ่ายมีบทบาทสำคัญในการประกอบการตัดใจของนักเดินทางในการวางแผนการเดินทาง ซึ่งหมายความว่าธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติจำเป็นที่จะต้องประเมินกลยุทธ์ของตนใหม่และปรับกลยุทธ์เพื่อดึงดูดนักเดินทาง
สถานที่ยอดฮิตสำหรับซัมเมอร์ (มิถุนายน-สิงหาคม 25674)
ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะครองตำแหน่งประเทศจุดหมายปลายทางยอดนิยมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา5 แต่คาดว่ามิวนิกจะขึ้นแท่นอันดับ 1 สำหรับการเป็นจุดหมายปลายทางประจำภาคฤดูร้อน (อ้างอิงจากการจองเที่ยวบิน) เนื่องจากมิวนิกได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปประจำปี 2567 ที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน โดยโตเกียวก็ตีคู่กันมาติด ๆ ในขณะที่บาลี (อันดับที่ 6) และกรุงเทพฯ (อันดับที่ 7) ก็ติดอันดับหนึ่งใน 10 เมืองยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางไปเที่ยวเพิ่มขึ้นในอีกสามเดือนข้างหน้า
การท่องเที่ยวภายในประเทศของจีนแผ่นดินใหญ่ฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่การเดินทางขาออกยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
กระแสการท่องเที่ยวของประเทศจีนเปลี่ยนไปเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมากต่างให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวภายในประเทศมากกว่าการท่องเที่ยวต่างประเทศ
- สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศของจีนแผ่นดินใหญ่เป็นไปในทางบวก เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารทางอากาศได้กลับสู่ระดับปกติอย่างสมบูรณ์ และสูงกว่าปี 2562 ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจในท้องถิ่น
- ในขณะเดียวกัน จำนวนการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เดินทางออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ก็กำลังฟื้นตัว และปัจจุบันปริมาณนักท่องเที่ยวขาออกอยู่ที่ 80.3% ของปี 2562
- และคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นในปี 2567 เนื่องจากการสนับสนุนจากการยกเว้นวีซ่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อจุดหมายปลายทางต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย
จำนวนนักท่องเที่ยวชาวอินเดียพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
จากการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลาง เส้นทางการบินที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยวที่สูงขึ้น ปี 2567 ถือเป็นปีที่นักท่องเที่ยวชาวอินเดียเดินทางไปต่างประเทศมากกว่าปีใด ๆ ในประวัติศาสตร์
- ใน 3 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้โดยสารทั้งหมด 97 ล้านคน เดินทางผ่านสนามบินในอินเดีย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ เมื่อ 10 ปีก่อน ต้องใช้ช่วงเวลาถึงหนึ่งปีเต็มถึงจะแตะตัวเลขเดียวกับจำนวนผู้โดยสารในปัจจุบัน
- การเดินทางของผู้โดยสารภายในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 21% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 ในขณะที่การเดินทางข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้น 4% ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567
- เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2562 และปี 2567 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวอินเดียที่เดินทางไปยังประเทศยอดนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จำนวนผู้เดินทางไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 53% ไปเวียดนามเพิ่มขึ้น 248% และไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 59% (สังเกตได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่มายังสหรัฐอเมริกายังคงต่ำกว่าปี 2562 ถึง 7% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า)
ระยะเวลาท่องเที่ยวที่นานยิ่งขึ้น
- ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ปี 2567 นักท่องเที่ยวขยายระยะเวลาท่องเที่ยวของพวกเขาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอีก 1.2 วัน โดยระยะเวลาท่องเที่ยวทั้งหมดเฉลี่ยอยู่ที่ 7.4 วันต่อการเดินทาง โดยมีแรงกระตุ้นมาจากค่าใช้จ่ายในประเทศจุดหมายปลายทางนั้นเอื้ออำนวยมากขึ้น อากาศที่อบอุ่น รวมไปถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าพึงพอใจ สถิติดังกล่าวเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในปี 2562 ที่มีระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 6.1 วันต่อการเดินทาง
- ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นักท่องเที่ยวต่างชาติพักอาศัยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.4 วัน เพิ่มขึ้น 0.6 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562
- ประเทศปลายทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่นักท่องเที่ยวนิยมขยายระยะเวลาพักอาศัยมากที่สุดระหว่างปี 2562 – 2567 คือ อินเดีย (+2 วัน) เวียดนาม (+2 วัน) อินโดนีเซีย (+1.9 วัน) และญี่ปุ่น (+1.4 วัน) โดยสาเหตุหลักมาจากตัวเลขการเติบโตของราคาที่พักในประเทศดังกล่าวสูงขึ้นน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ
- การพักอาศัยที่ยาวขึ้นส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยต่อทริปเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้น ๆ
ผู้ที่ชื่นชอบความตื่นเต้นยังคงต้องการประสบการณ์ที่หลากหลายและความบันเทิงในยามค่ำคืน
ผู้บริโภคทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญกับประสบการณ์มากกว่าสินค้า ซึ่งเทรนด์นี้ถือเป็นเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นในภาคการท่องเที่ยว โดยการใช้จ่ายเพื่อซื้อประสบการณ์และความบันเทิงในยามค่ำคืนคิดเป็น 12% ของยอดขายการท่องเที่ยว ถือเป็นจุดสูงสุดในรอบอย่างน้อยห้าปี ในขณะเดียวกันการค้าปลีกมีอัตราการฟื้นตัวที่ช้าลง
- นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียเป็นนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายด้านประสบการณ์และความบันเทิงยามค่ำคืนมากที่สุดในโลก
- ในปี 2567 ชาวออสเตรเลียมีการใช้จ่ายหนึ่งในห้าดอลลาร์ (19%) กับกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (12%) เป็นอย่างมาก
- นักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ต่างแสวงหาประสบการณ์มากขึ้นเช่นกัน โดยมีการใช้จ่าย 10% ในหมวดนี้ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 7% ในปี 2566
ความเรียบง่ายสำคัญมากกว่าความหรูหราในเรื่องของแฟชั่นและอาหาร
ถึงแม้นักท่องเที่ยวในปัจจุบันชื่นชอบบรรยากาศสบาย ๆ แต่ก็ยอมที่จะใช้จ่ายไปกับร้านค้าหรูและการรับประทานอาหารแบบ fine dining หากสิ่งที่ได้รับคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป
- ยอดขายแฟชั่นสุดหรูมีอัตราเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2567 ประเทศญี่ปุ่นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (152%) เช่นเดียวกับการเติบโตในฮ่องกง (208%) ถึงแม้ว่าแฟชั่นชุดลำลองจะยังคงเป็นผู้นำในเกือบทุกที่ก็ตาม
- สาเหตุที่การเติบโตในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปิดประเทศที่ล่าช้าในปี 2566 ในขณะที่การเติบโตของประเทศญี่ปุ่นเกิดจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินเยนและการท่องเที่ยวขาเข้าที่แข็งแกร่ง
- ปัจจุบันร้านอาหารแบบไฟน์ไดนิ่ง (Fine dining) ในประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และไทย เติบโตขึ้นอย่างมาก ทำให้การรับประทานอาหารแบบพรีเมียมได้รับความนิยมมากกว่าการรับประทานอาหารแบบทั่วไป ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่ยังคงเป็นที่นิยมอยู่
นายแมนน์กล่าวเสริมว่า “ท่ามกลางภูมิทัศน์การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปและการเดินทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2567 ทางสถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ด (MEI) ยังได้ช่วยเหลือภาคธุรกิจและผู้กำหนดนโยบายในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงการให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นกลยุทธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในระดับประเทศ ประเภท และบริษัท นอกเหนือจากการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เป็นไปได้และผลกระทบที่เจอ”