หาก “ศิลป์” คือการรับรู้และส่งผลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางสภาวะอารมณ์อันเกิดจากผัสสะทั้ง 5 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย – “เสียง” จึงเป็นหนึ่งในงานศิลป์ สัมผัสได้ด้วยการฟัง ไม่มีรูปร่างทางกายภาพ แต่ก่อเกิดรูปร่างทางอารมณ์ในตัวผู้คน เสียงอยู่รอบตัวและสร้างสรรค์สะท้อนความรู้สึกได้มากที่สุด
การแสดงนิทรรศการ “Painting with Sound” หรือ “เส้นสายลายเสียง” เป็นการสะท้อนภาพของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีของ “เสียง” ที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลาย ผ่านผลงานดิจิทัลอาร์ตในหลากรูปแบบ ทั้งงานปริ้นท์, งานโครงสร้าง, Motion Graphic, VR Painting, และภาพยนต์สั้น
ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง บริษัท ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ จำกัด และ Genelec แบรนด์ลำโพงจากประเทศฟินแลนด์ ล้ำสมัยด้วยเทคโนโลยีการส่งผ่านเสียงที่เจาะตรงถึงก้นบึ้งอารมณ์ และศิลปิน Visual Artist อย่าง “Pai Lactobacillus” พร้อมกับศิลปิน Digital Art “เอกชัย มิลินทะภาส” ร่วมด้วย Sound Designer “ณพวัฒน์ ลิขิตวงศ์” ที่ได้กำลังเสริมจากทีม Yaak Lab และปิดท้ายด้วย “ฉันทนา ทิพย์ประชาติ” ศิลปินผู้กำกับภาพยนต์สั้น – เชิญมาลองฟัง “เสียง” ที่ตั้งใจส่งไปถึงคุณ โดยภายในงานนำเสนอนิทรรศการสร้างสรรค์ดิจิทัลอาร์ต เสียง เทคโนโลยี และศิลปะ “Painting with Sound” หรือ “เส้นสายลายเสียง” งานแสดงศิลปะที่ใช้เทคโนโลยีของ “เสียง” เข้ามาช่วยถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านผลงาน Digital Art หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น งาน Print, Motion Graphic, งานโครงสร้าง, VR Painting, และภาพยนตร์สั้น ร่วมด้วยเหล่าศิลปินชื่อดังมากประสบการณ์ ได้แก่ Pai Lactobacillus ศิลปิน Visual Artist สไตล์ Pop Art ยุค 80s – 90s เอกชัย มิลินทะภาส ศิลปิน Digital Art โดดเด่นกับสไตล์ไทยประยุกต์ ณพวัฒน์ ลิขิตวงศ์ Sound Designer มากประสบการณ์กับผลงานมากมายทั้งในภาพยนตร์ โฆษณา และดนตรี ที่จับมือร่วมกับ Yaak Lab เพื่อสร้างผลงานให้ออกมาสื่ออารมณ์ได้อย่างล้ำลึก และ ฉันทนา ทิพย์ประชาติ ผู้กำกับภาพยนตร์สั้นที่นอกจากงานภาพที่ตราตรึงใจแล้ว ยังโดดเด่นในเรื่องของการใช้เสียงที่เป็นเอกลักษณ์ถสามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้เป็นอย่างดี
คุณมนัชญา วัณโณ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ จำกัด กล่าวว่า “งานนิทรรศการ Painting with Sound (เส้นสายลายเสียง) จัดขึ้นเพื่อต้องการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้ที่ได้เข้าชมงานดื่มด่ำไปกับศิลปะในรูปแบบของ “เสียง” ที่ทำงานร่วมกับศิลปะอื่นๆ ที่สามารถนำเสนอออกมาได้หลากหลายรูปแบบ โดยในครั้งนี้เราได้แรงบันดาลใจมากจากเรื่องของสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย ซึ่งเราสามารถได้ยิน “เสียง” ที่มีอยู่รอบตัวเรา เป็นอีกหนึ่งงานศิลป์ที่แม้จะไม่มีรูปร่างทางกายภาพ แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยการฟัง หากใช้เทคโนโลยีด้านเสียงที่มีคุณภาพและเจาะจงอุปกรณ์ที่เหมาะสม ก็จะยิ่งทำให้คลื่นเสียงนั้นส่งเข้าไปสู่ประสาทสัมผัสได้อย่างล้ำลึกยิ่งขึ้น ซึ่งผลงานศิลปะที่จัดแสดงในครั้งนี้จะเป็นในรูปแบบ Digital Art จากผลงานของเหล่าศิลปินชื่อดังมากฝีมือ”
ภายในงานแบ่งเป็นห้องต่างๆ ออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ 1) Lotus and fish โดยภายในห้องนี้จะเน้นไปที่เสียงของธรรมชาติที่สมจริง ให้ความรู้สึกเหมือนเรานั่งอยู่ริมลำธารที่มีต้นหญ้าและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ รอบตัว 2) Illusionary Room ได้แรงบันดาลใจจากยุคสมัยใหม่ที่การใช้ชีวิตยุ่งเหยิงและอลหม่าน เสียงที่ออกมาจึงจะมีความพิษวง เมื่อเราได้เข้าไปนั่งฟัง เสียงที่ได้ยินจะให้ความรู้สึกล่องลอย เหมือนการไหลไปตามคลื่นกระแสสังคมที่วนลูปไม่มีสิ้นสุด 3) Music Therapy เป็นการถ่ายทอดเสียงที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวันปกติ อย่างการฟังเพลงขณะทำงาน หรือการดูหนังดูยูทูปขณะพักผ่อน ซึ่งทำให้เรายังสามารถตั้งสติให้อยู่กับปัจจุบันและผ่อนคลายความเหนื่อยล้าลงได้ 4) Sound Immersive ภายในห้องนี้จะเป็นการแสดงผลงานของเสียงรอบทิศทางที่เสมือนจริงที่สุด หรือที่เราเรียกว่า Immersive Sound โดยเราได้จำลองพื้นที่ให้สามารถรับเสียงได้โดยรอบไปพร้อมกับชมภาพยนตร์หรือภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เพื่อให้เกิดอรรถรสและมีอารมณ์ร่วมกับสิ่งที่ถ่ายทอดได้มากที่สุด ซึ่งในแต่ละห้องนั้นมีการใช้รุ่นของลำโพงที่แตกต่างกันไปจาก Genelec แบรนด์ลำโพงชื่อดังจากประเทศฟินแลนด์ เป็นลำโพงที่ใช้เทคโนโลยีที่ให้เสียงที่คมชัด แม่นยำ และเพิ่มความละเอียดของเสียงมากขึ้น ช่วยควบคุมทิศทางของเสียง ทำให้ได้พลังเสียงที่ลึกล้ำแตกต่างกันออกไป สามารถสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกเข้าถึงงานศิลปะที่มีความเฉพาะตัวในแต่ละห้องได้เป็นอย่างดี
นิทรรศการงานศิลปะ ‘เส้นสายลายเสียง มีกำหนดการจัดงานตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2566 – 2 เมษายน 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://fuzion.co.th/paintingwithsound/
ที่มา: แบรนด์ คอมมิวนิเคชัน